คุณภาพนำธุรกิจ สู่ชีวิตที่มั่นคง                                                                                                                                                                                                                         
 

เรื่องที่ 1

x

ผลิตกระดาษซับหน้ามัน ไคโตซาน ชี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมย่อยสลายได้ง่าย ไม่ทำให้แพ้หรือเกิดการระคายเคือง ใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภค

ผิวมัน เป็นปัญหาที่พบได้ในผู้ที่มีสภาพผิวแบบผสมหรือผิวมัน สาเหตุของผิวหน้ามันมีหลายประการ ตั้งแต่กรรมพันธุ์หรือธรรมชาติของต่อมไขมันใต้ผิวหนังที่ผลิตน้ำมันออกมา การแก้ปัญหาอาจทำได้โดยการล้างหน้า แต่นั่นเป็นวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นเพราะไม่นานต่อมไขมันก็จะขับน้ำมันมาเคลือบผิวใหม่และการล้างหน้าบ่อยครั้งยังเป็นการทำร้ายผิวมากขึ้น ทำให้ผิวแห้งและเกิดความระคายเคืองได้ ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ลดความมันบนใบหน้าเป็นจำนวนมาก เช่น สบู่ล้างหน้า แป้งลดความมัน แต่ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมากคือ แผ่นซับหน้ามัน โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยรุ่นและผู้หญิงเนื่องจากสามารถพกพาและใช้ได้สะดวกในทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ดี

แผ่นซับหน้ามันที่จำหน่ายทั่วไป ส่วนใหญ่ทำจากพอลิเมอร์ซึ่งจะมีปัญหาในการย่อยสลายมีบางส่วนที่ทำมาจากลินินหรือเยื่อกระดาษ และเติมส่วนผสมอื่นที่จำเป็นลงไปด้วย เช่น สารดูดซับหรือพลาสติกไซเซอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับความมันและทำให้แผ่นซับหน้ามันมีความเหนียวและยืดหยุ่นที่เหมาะสม โดยแผ่นซับหน้ามันที่มีขายอยู่จะมีหลายแบบและราคาแตกต่างกัน ถ้าเป็นแผ่นซับมันที่มีคุณภาพดี หรือเมื่อนำไปซับหน้าแล้วเหมือนกับได้ทาแป้งก็จะมีราคาแพงกว่า ซึ่งถ้าหากสามารถลดต้นทุนในการผลิตและยังได้แผ่นซับหน้ามันที่มีคุณภาพคงเดิม ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกซื้อแผ่นซับหน้ามันสำหรับผู้บริโภค

โครงการพัฒนาแผ่นซับหน้ามันจากไคโตซาน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ทีมวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย
ผศ.ดร.ภก. ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์ กล่าวว่า ไคโตซาน(chitosan)เป็นชื่อเรียกอนุพันธ์ของไคติน(chitin) โดยไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพ (biopolymer) ที่ได้จากธรรมชาติพบในโครงสร้างส่วนเปลือกของสัตว์จำพวก กุ้ง ปู ปลาหมึกและเปลือกของแมลงและยังพบได้ในเห็ด ราบางชนิด การผลิตไคตินเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมทะเล โดยนำส่วนที่จะนำไปทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใหม่ เนื่องจากไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ที่มีประจุบวกทำให้ไคโตซานมีคุณสมบัติในการจับกับไขมันและดูดซับน้ำมันได้ดี จึงช่วยลดความเหนอะหนะบนใบหน้าและลดความมันได้ผล ที่สำคัญคือ ไคโตซานเข้ากับเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตได้ สามารถสลายตัวได้ในสิ่งมีชีวิตและมีความเฉื่อยทางชีวภาพ จึงไม่ทำให้แพ้หรือเกิดการระคายเคือง สามารถใช้ได้กับทุกเพศทุกวัยแม้ในคนที่มีผิวแพ้ง่ายและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเตรียมแผ่นซับหน้ามันจากไคโตซานทั้งแบบฟิล์ม แบบกระดาษและพัฒนาแผ่นซับหน้ามันจากไคโตซานให้มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับใช้ดูดซับความมันบนใบหน้า โดยแผ่นซับหน้ามันเตรียมจากสารละลายไคโตซานผสมกับพลาสติกไซเซอร์ สารดูดซับและเยื่อปอสา จากนั้นจึงนำสารผสมมาเทลงบนแม่พิมพ์ อบแห้งที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และนำแผ่นซับหน้ามันที่ได้ไปทดสอบสมบัติความเรียบเนียน ความนุ่ม ยืดหยุ่น ความหนาและการดูดซับน้ำมัน

ผศ.ดร.ภูริวัฒน์ กล่าวว่า แผ่นซับหน้ามันจากไคโตซานทั้งแบบฟิล์มและแบบกระดาษนี้ จะใช้สารละลายไคโตซานเข้มข้น 1% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร จากการทดลองพบว่าความสามารถในการดูดซับน้ำมันของแผ่นซับหน้ามันขึ้นอยู่กับชนิดของสารดูดซับ ด้านผลของการเติมพลาสติกไซเซอร์ที่มีต่อแผ่นซับหน้ามันแบบฟิล์มพบว่า การเติมสาร PEG6000 ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ได้ฟิล์มที่แข็ง ไม่นุ่ม ขณะที่การเติมสาร sorbitol จะทำให้ฟิล์มมีความอ่อนนุ่ม แต่ถ้าเติมในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ฟิล์มไม่คงรูปและผิวของฟิล์มมันเหนอะหนะ ดังนั้นการเตรียมแผ่นซับหน้ามันแบบฟิล์มจึงควรเลือกใช้สารทั้งสองชนิดข้างต้นในปริมาณที่เหมาะสมเป็นพลาสติกไซเซอร์ เพื่อทำให้ฟิล์มมีความอ่อนนุ่มและคงรูปร่างที่ดี
ด้านผลการเตรียมแผ่นซับหน้ามันแบบกระดาษจากการเติมเยื่อปอสาพบว่า การเตรียมเยื่อปอสาในปริมาณ 0.5 กรัมและ 1.0 กรัมต่อสารละลายไคโตซาน 50.0 กรัม จะทำให้ได้แผ่นซับหน้ามันที่สามารถดูดซับน้ำมันได้มากแต่ค่อนข้างแข็งขาดความยืดหยุ่นและไม่เรียบเนียนน่าใช้มากกว่า แต่เมื่อนำสารดูดซับทั้งสองชนิดมาผสมกัน (talcum และ colloidal silicon dioxide) จะทำให้กระดาษดูดซับน้ำมันได้น้อยลง โดยปริมาณของสารดูดซับที่ใช้ต้องมีความเหมาะสม สามารถดูดซับได้มากกว่าแบบฟิล์ม อีกทั้งยังมีความเรียบเนียนและนุ่มมากกว่า สรุปส่วนผสมสำหรับแผ่นซับหน้ามันจากไคโตซานคร่าวๆจะประกอบด้วย สารละลายไคโตซาน 50.0 กรัม เยื่อปอสา 1.0 กรัม สาร Sorbitol 1.0 กรัมและ Colloidal silicon dioxide จำนวน 0.1 กรัม ซึ่งจะได้แผ่นซับหน้ามันที่ดูดน้ำมันได้ 60.16 % โดยน้ำหนัก

 

หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวอีกว่า แผ่นซับหน้ามันไคโตซานและเยื่อปอสานี้ยังมีประสิทธิภาพในการดูดซับความมันเทียบเท่ากับแผ่นซับหน้ามันในท้องตลาด และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือการผลิตที่หาได้ง่าย จำนวนน้อยชิ้นและไม่ซับซ้อนยุ่งยาก อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่ ผลิตได้ภายในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าสารเคมี และวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสามารถย่อยสลายได้ง่าย ซึ่งขณะนี้กำลังมีการขอจดสิทธิบัตรในโครงการดังกล่าว และความสำเร็จครั้งนี้ยังต้องการความร่วมมือจากภาคเอกชนเพื่อต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป


เรื่องที่ 2

นักวิจัยเอ็มเทคพัฒนาปิดแผลจากเปลือกกุ้ง-กระดองปู ดูดซับน้ำเลือด-น้ำหนองได้ดีแต่ไม่ยึดติดแผล ลอกออกง่าย พร้อมฤทธิ์สมานแผลจากไคติน-ไคโตซาน ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการทดลองทางโรงพยาบาล คาดจะได้ใช้เร็วๆ นี้
       
       
ดร.วนิดา จันทร์วิกูลและน.ส.บุญล้อม ถาวรยุติการต์ นักวิจัยจาก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับพัฒนาวัสดุปิดรักษาแผลจากคาร์บอกซีเมธิลไคโตซานซึ่งเป็นอนุพันธ์หนึ่งของไคติน-ไคโตซาน ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นและตัววัสดุยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อบางชนิดได้ ทั้งนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มอบรางวัลชมเชยผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2549 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชให้กับผลงานดังกล่าว
       
       น.ส.บุญล้อม ผู้ร่วมวิจัยแผ่นปิดแผลนี้อธิบายว่าไคติน-ไคโตซานซึ่งสกัดจากเปลือกกุ้งหรือกระดองปูนั้นมีฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์บางชนิด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นได้ เนื่องจากการรักษาบาดแผลในโรงพยาบาลโดยทั่วไปจะให้ยาทาแผลแล้วพันด้วยผ้าก็อต เมื่อลอกออกมาจะมีชิ้นเนื้อจากแผลติดออกมาด้วย จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเป็นแผ่นปิดแผลขึ้น แต่เนื่องจากไคติน-ไคโตซานนั้นเป็นวัสดุที่ไม่ละลายน้ำ จึงต้องทำให้อยู่ในรูป "คาร์บอกซีเมธิลไคโตซาน" ซึ่งเป็นอนุพันธ์หนึ่งของไคติน-ไคโตซานที่ละลายน้ำได้
       
       ทั้งนี้หลังจากได้คาร์บอกซีเมธิลไคโตซานซึ่งขึ้นรูปเป็นแผ่นปิดแผลแล้ว จะนำไปผ่านการกระบวนความร้อนโดยการอบไอน้ำ คาร์บอกซีเมธิลไคโตซานที่ละลายน้ำก็จะเปลี่ยนไปเป็นอุ้มน้ำแทน ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้แผ่นปิดแผลช่วยดูดซับน้ำเลือด-น้ำหนองจากบาดแผลได้ อีกทั้งคุณสมบัติของไคติน-ไคโตซานยังช่วยยับยั้งเชื้อและสมานแผลด้วย
       
       แผ่นปิดแผลนี้พัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ.2544 ซึ่งได้ทำการทดลองในหนูด้วยการกรีดผิวหนังแล้วปิดด้วยแผ่นปิดแผลที่พัฒนาขึ้นนี้เปรียบเทียบกับแผ่นปิดแผลที่ขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปพบว่ารักษาแผลได้เร็วกว่า และขณะนี้กำลังทดสอบกับผู้ป่วยจริงๆ โดยมีการทดลองใช้กับแผลผู้ป่วยที่ผ่านการทำ Skin Graft ซึ่งเป็นการนำผิวหนังในที่ปกปิด เช่น ผิวหนังตรงสะโพกมารักษาแผลตามใบหน้า เป็นต้น ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รวมถึงการทดลองรักษาแผลผ่าตัดในช่องหูของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิโรฒ (องครักษ์)
       
       ทั้งนี้ น.ศ.บุญล้อมกล่าวว่าต้องรอผลการทดสอบในโรงพยาบาลก่อนที่จะผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อ ซึ่งก็มีเอกชนหลายรายให้ความสนใจติดต่อมา ทั้งนี้คาดว่าเมื่อวางจำหน่ายแผ่นปิดแผลจะมีราคาประมาณแผ่นละ 30 บาท


เรื่องที่ 3 ใช้ "ไคโตซาน" กำจัดสีในน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ
อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยมีอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมหลักที่รัฐบาลให้ความสนใจ ขณะเดียวกันปัญหาสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการพิจารณาร่วมไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม

น้ำเสียจากกระบวนการทางสิ่งทอของโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานฟอกย้อมมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตคือ วัสดุ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้า) ตัวกลาง (น้ำ) สี และสารเคมี (ได้แก่โซเดียมซัลเฟต กรดอะซิติก โซเดียมไฮดรอกไซด์ สารช่วยชนิดต่างๆ) ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของการผลิตจะมีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้น้ำเสียจากกระบวนการผลิตจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและกระบวนการที่ใช้ มลพิษที่เกิดขึ้นจากโรงงานฟอกย้อม ประกอบด้วย

สี ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ย้อมผ้าฝ้ายหรือผ้าฝ้ายผสมเส้นใยสังเคราะห์ จะใช้สีย้อมชนิดต่างๆคือ สีดีสเพอร์ส สีแอซิด สีไดเร็กท์ และสีรีแอคทีฟ

ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ จะขึ้นอยู่กับสภาวะในการทำความสะอาดการฟอกขาว การชุบมัน และการย้อมสี น้ำเสียส่วนใหญ่ในโรงงานฟอกย้อมจะมีสภาพเป็นด่าง เนื่องจากเกือบทุกกระบวนการของการฟอกย้อมจะมีการใช้ด่าง

ปริมาณบีโอดี คือประมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ถ้าบีโอดีมีค่ามากแสดงว่าในน้ำมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก แป้ง โปรตีน และสารอินทรีย์ที่มีการใช้ในการกระบวนการทางสิ่งทอ จะถูกกำจัดออกไป และปะปนอยู่ในน้ำเสีย ทำให้ค่าบีโอดีเพิ่มขึ้น

ปริมาณซีโอดี การบอกคุณภาพน้ำ อาจบอกได้โดยค่าความต้องการออกซิเจนในทางเคมี ซึ่งหมายถึงปริมาณออกซิเจนที่ต้องการใช้ในการออกซิไดซ์สารอินทรีย์ โดยใช้สารเคมีซึ่งมีอำนาจในการออกซิไดซ์สูง และ 5.ของแข็งแขวนลอย ของแข็งแขวนลอยในน้ำ เช่น เศษเส้นใยโอลิโกเมอร์ที่หลุดออกจากเส้นใย

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอกำลังประสบปัญหาที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำในปริมาณสูง มีของเสียเกิดขึ้นมากในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิต และมาตรฐานน้ำทิ้งที่รัฐบาลกำหนดมีความเข้มงวดมากขึ้น ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอจำเป็นต้องพัฒนาระบบการบำบัดน้ำทิ้งให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดสีจากน้ำทิ้งโดยใช้โคโตซาน ดังนั้นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้สนับสนุนให้นางสาวบุญศรี คู่สุขธรรม จากแผนกวิชาเคมีสิ่งทอ คณะวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ พัฒนา "โครงการการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดสีในน้ำทิ้งจากอุตสาหกกรรมสิ่งทอ" โดยพบว่าน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดถูกนำมาวิเคราะห์สีในน้ำ การวัดค่าความขุ่น การวิเคราะห์ของแข็งทั้งหมด ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด ของแข็งละลายน้ำ การวิเคราะห์ปริมาณบีโอดี ซีโอดี และการวิเคราะห์ปริมาณอะลูมิเนียม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า เกลือไฮโดรโบรไมด์ของไคโตซานและไคโตซาน-พอลิอะคริลาไมด์ สามารถกำจัดสีในน้ำทิ้งที่เตรียมจากห้องปฏิบัติการได้ โดยสีที่ถูกกำจัดได้ดีที่สุดคือ สีไดเร็กท์ ส่วนสีที่จำกัดได้น้อยคือ สีดีสเพอร์ส สีแอซิด และสีรีแอคทีฟ

นางสาวบุญศรี กล่าวว่าการใช้ไคโตซานร่วมกับสารส้มจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดสี โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมในการกำจัดสีของสารส้ม : ปูนขาว : เกลือไฮโดรโบรไมด์ของไคโตซานคือ 1:2:0:2 ส่วนอัตราส่วนที่เหมาะสมในการกำจัดสีของสารส้ม :ปูนขาว : ไคโตซาน-พอลิอะคริลาไมด์คือ 1:2:2 และการใช้สารส้มร่วมกับเกลือไฮโดรโบรไมด์ของไคโซซานจะให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสีในน้ำทิ้งจากห้องปฏิบัติการดีกว่าการใช้สารส้มร่วมกับไคโตซาน-พอลิอะคริลาไมด์ ส่วนการกำจัดสีรีแอคทีฟพบว่า เกลือไฮโดรโบรไมด์ของไคโตซานจะให้ประสิทธิภาพในการกำจัดดีกว่าการใช้สารละลายไคโตซานในกรดอะซีติก และไคโตซานในรูปผง

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือ ทำให้ปริมาณหัวกุ้ง และเปลือกกุ้งมีมากขึ้น การนำเปลือกกุ้งมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไคติน และอนุพันธุ์ของไคตินคือ ไคโตซานจะเป็นแนวทางหนึ่งในการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้กับของเหลือทิ้ง เพราะไคโตซานมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับเซลลูโลสมีสมบัติในการดูดจับสีย้อมได้ดี จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการกำจัดสีย้อมจากน้ำทิ้งในอุตสาหกรรมสิ่งทอได้
 
อย่างไรก็ตาม พีเอชที่เหมาะสมในการกำจัดสีในน้ำทิ้งที่สุ่มตัวอย่างจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้สารตกตะกอนทางการค้าคือ พีเอช 6 โดยปริมาตรที่เหมาะสมที่สุดของสารตกตะกอนทางการค้าในการกำจัดสีคือ ปริมาณสารตกตะกอนทางการค้า 1.5 มิลลิลิตรต่อน้ำเสีย 25 มิลลิลิตร และการใช้สารตกตะกอนประเภทต่างๆคือ สา


Thtpoodang.tht.in

เมนูหลัก


ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์

 
 

 

สถิติการเยี่ยมชม

 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 0 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
14 คน
263 คน
5125 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-11

Copyright (c) 2006 by Your Name